เมื่อก่อนแค่ใส่คีย์เวิร์ดกับเขียนบทความยาว ๆ ก็พอจะทำให้เว็บติดหน้าแรกได้แล้ว แต่ตอนนี้ SEO มันไม่ง่ายแบบนั้นอีกต่อไป นั่นอาจเป็นเพราะพฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยนเร็ว และ AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้น แถม Search Engine ก็ฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเว็บยังใช้สูตรเดิม ๆ อยู่ อาจตามไม่ทันคู่แข่งที่ปรับตัวเร็วกว่า วันนี้เลยอยากชวนทุกคนมารู้จักกับ AI SEO หรือการทำ SEO ด้วยแนวคิดที่ตอบโจทย์โลก AI ยุคใหม่ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องเทคนิคในหน้าเว็บ แต่รวมถึงความน่าเชื่อถือภายนอก และการจัดโครงสร้างเว็บที่สื่อสารกับ AI ได้อย่างเข้าใจง่ายครบถ้วน ใครที่อยากอัปเกรดกลยุทธ์ SEO ให้เว็บไซต์ธรรมดา ๆ กลายเป็นเว็บที่ติดอันดับต้องรู้จัก 3 องค์ประกอบหลักนี้

On-page AI SEO
1. จัดเนื้อหาโครงสร้างให้ชัดเจน
การวางโครงสร้างเนื้อหาที่เป็นระบบ เช่น เริ่มจากบทนำ ตามด้วยเนื้อหา และสรุปตอนท้าย ช่วยให้ทั้งผู้อ่านและ AI เข้าใจได้ง่ายว่าเนื้อหากำลังพูดถึงเรื่องอะไร เพิ่มโอกาสในการจัดอันดับบน Search Engine ได้มากขึ้น
2. ใช้ H1 H2 H3 อย่างมีลำดับ
Heading 1 สิ่งที่ทุกหน้าเว็บไซ์จำเป็นต้องมี เพราะเปรียบเสมือนหัวข้อหลักของบทความหรือหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ ช่วยให้ผู้อ่านและบอตของ Google เข้าใจว่าบทความหรือหน้าเว็บนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยจำเป็นต้องใส่ keyword สำคัญของบทความลงไปด้วย
ตัวอย่างเช่น
<H1>: วิธีทำข้าวผัดไข่แบบง่าย ๆ สูตรนี้ลองแล้วอร่อยชัวร์
<H2>: วัตถุดิบ
<H2>: อุปกรณ์ในการทำ
<H2>: วิธีทำ
<H3>: ขั้นตอนที่ 1
<H3>: ขั้นตอนที่ 2
<H3>: ขั้นตอนที่ 3
การใช้ Heading Tag จะทำให้การอ่านของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราเป็นไปได้อย่างลไหลลื่น เช่นเดียวกับเวลาที่บอตของ Google เข้ามาเก็บข้อมูลอย่างง่ายดายในบทความนี้
3. เขียนให้มีบริบททางความหมาย
เขียนให้มีคำที่เกี่ยวข้องและสื่อความหมายในเชิงลึก เช่น ใช้คำพ้อง คำอธิบายเพิ่มเติม หรือคำที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อช่วยให้ AI เข้าใจเนื้อหาอย่างแม่นยำมากขึ้น และช่วยให้เนื้อหาดูเป็นธรรมชาติ มีคุณค่ากับผู้อ่านมากขึ้น
4. เขียนภาษาที่อ่านง่าย
ใช้ภาษาที่เป็นกันเอง เข้าใจง่าย เหมือนกำลังพูดคุยกับผู้อ่านจริง ๆ ช่วยให้คนอ่านรู้สึกเชื่อมโยงกับเนื้อหา ลดความแข็งทื่อของบทความ และ AI เองก็ให้คะแนนเนื้อหาที่มีความ “อ่านง่าย” มากขึ้นในระบบจัดอันดับ
5. สื่อถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียน
การเขียนอย่างเชี่ยวชาญ ถ้ายึดตามหลัก EEAT ที่ย่อมาจาก Expertise, Experience, Authoritativeness, และ Trustworthiness หมายถึงการเขียนเนื้อหาที่สะท้อนความรู้จริง มีประสบการณ์ มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และสร้างความไว้วางใจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ Google ใช้ประเมินคุณภาพเว็บไซต์
6. สร้างข้อมูลที่เชื่อมโยงได้
- สถิติ เครื่องมือวัดผล
- รายการตรวจสอบแบบโต้ตอบ
- เนื้อหาที่กระตุ้นความคิดเห็น ความเป็นผู้นำทางความคิด
- เนื้อหาที่มีความคิดเห็นสูง
เปรียบเทียบ On-page
SEO แบบเดิม | SEO ยุคใหม่ |
On-page structure | จัดโครงสร้างเนื้อหาให้ชัดเจน |
Page Title Optimization | ใช้ H1, H2, H3 อย่างมีลำดับ |
Meta Description Optimization | เขียนให้มีบริบททางความหมาย (Semantic Richness) |
H1-H6 Tag Optimization | เขียนแบบบทสนทนา (Conversational tone |
Content SEO | สื่อถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ (EEAT Principle) |
Internal Linking | สร้างแหล่งข้อมูลที่เชื่อมโยงได้ เช่น สถิติ, ตารางเปรียบเทียบ, รายการ,ตรวจสอบแบบมีคำตอบ, เนื้อหาที่กระตุ้นความคิดเห็น, ความเป็นผู้นำทางความคิด, เนื้อหาที่มีความคิดเห็นสูง |
External Linking | |
UX/UI design |

Off-page AI SEO
(Off-page Authority & Trust Signals)
1. สร้าง Content External บนแหล่งข้อมูลที่ใช้เทรน AI
- Wikipedia ทุก AI ดึงข้อมูลจากที่นี่
- ฟอรั่มต่าง ๆ ที่มีบทสนทนา
- Reddit, LinkedIn, GitHub, Stack Overflow, Quora
- GMB (Google My Business), Bing Place, Yelp, Apple Maps
2. External Signals การปรากฏตัวบนเว็บใหญ่ ๆ
- ทำ Digital PR บนเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง
- ทำโปรเจกต์กับแบรนด์อื่น Co-branding Campaigns
- ทำ social media ให้เกิด engagement
- ทำเนื้อหาประเภท listing article ในเว็บต่าง ๆ ให้มากที่สุด
AI Search โดยเฉพาะในปี 2025 ที่ระบบ AI ถูกนำมาใช้ในการจัดอันดับและแสดงผลการค้นหามากขึ้น โดยมีประเด็นสำคัญ 2 ข้อหลัก คือ
1. AI Search ก็แยกไม่ออกว่าอะไรคือ “ความจริง” หรือ “ความเท็จ”
ระบบ AI ไม่ได้มีความสามารถในการ “รู้ความจริง” เหมือนมนุษย์ มันเพียงประมวลผลจากสิ่งที่ พบเจอได้บ่อย หรือ ถูกพูดถึงมาก ดังนั้น ถ้าข้อมูลนั้นมีคนพูดถึงซ้ำ ๆ หรืออยู่ในแหล่งที่น่าเชื่อถือ AI ก็จะคิดว่า “นั่นคือเรื่องจริง” หรือ “น่าเชื่อถือ”
2. ความน่าเชื่อถือ ≠ ข้อเท็จจริง
- ความน่าเชื่อถือ (Trustworthiness) มาจากการที่ มีคนพูดถึงแบรนด์ (Brand Mention) บ่อย ๆ
- ข้อเท็จจริง (Facts) วัดจากความถี่ของข้อมูลที่ AI พบเจอในแหล่งต่าง ๆ เช่น เว็บที่มี Authority, PR, Wikipedia, ฟอรั่ม

ปัจจัยที่ส่งผลให้แบรนด์ปรากฏใน AI Overviews
SGE หรือระบบ AI Search โดยใช้ข้อมูลจากแบรนด์กว่า 75,000 แบรนด์ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ว่า “อะไรที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับการที่ AI หยิบแบรนด์ไปแสดงผล” โดยวัดจาก ค่า Spearman Correlation ยิ่งค่าสูง = ยิ่งเกี่ยวข้องมาก
- Branded web mentions (0.664) การที่มีคนพูดถึงแบรนด์บนเว็บไซต์อื่นๆ (แม้จะไม่มีลิงก์กลับมา) คือ สิ่งที่ AI ให้ความสำคัญที่สุด ยิ่งถูกพูดถึงบ่อย → ยิ่งมีโอกาสปรากฏใน AI overview
- Branded anchors (0.527) คำที่ใช้เป็นลิงก์ถ้าใช้ชื่อแบรนด์เป็น anchor text จะช่วยเสริมแบรนด์ให้เด่นในสายตา AI
- Branded search volume (0.392) จำนวนครั้งที่มีคนค้นหาแบรนด์โดยตรงบน Googleแสดงว่าแบรนด์มี awareness สูง
- DR (Domain Rating – 0.326) คะแนนความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์จาก Ahrefs ถ้าเว็บไซต์มี DR สูง แบรนด์ก็มีแนวโน้มถูก AI หยิบไปแสดงมากขึ้น
- Number of referring domains (0.295) จำนวนเว็บไซต์ที่ลิงก์กลับมาหาแบรนด์ ยิ่งมีหลากหลาย ยิ่งดี
- Branded traffic (0.274) จำนวนคนที่เข้าเว็บผ่านการพิมพ์ชื่อแบรนด์หรือคลิกลิงก์ที่มีชื่อแบรนด์
- Number of backlinks (0.218) จำนวนลิงก์ทั้งหมดที่ลิงก์กลับมาหาเว็บไซต์
- Ad traffic (0.216) และ Ad cost (0.215) การยิงโฆษณาก็ช่วย แต่ไม่มากเท่ากับการถูกพูดถึงจริง ๆ
- URL rating (0.18) คะแนนของแต่ละหน้า URL เป็นรายหน้าที่ช่วยเสริมความน่าเชื่อถือ
- Number of site pages (0.17) จำนวนหน้าบนเว็บไซต์ของคุณ มีผลเล็กน้อย

Technical AI SEO
1. robots.txt
ไฟล์ที่ใช้บอก Search Engine ว่าควรหรือไม่ควรเข้าไปอ่านส่วนไหนของเว็บไซต์ ช่วยป้องกันไม่ให้บอตเข้าไปเก็บข้อมูลจากหน้าที่ไม่ต้องการให้แสดงในผลค้นหา เช่น หน้าหลังบ้านหรือหน้าทดลอง
2. llms.txt
(เข้าใจว่าอาจหมายถึง humans.txt) ไฟล์ที่ใช้ระบุข้อมูลผู้สร้างเว็บไซต์ เช่น ทีมพัฒนา ผู้เขียนโค้ด เพื่อแสดงความเคารพและเครดิตด้านการพัฒนา ไม่มีผลต่อ SEO โดยตรงแต่สร้างความโปร่งใสและมืออาชีพ
3. XML Sitemap
แผนผังเว็บไซต์ในรูปแบบ XML ที่ส่งให้ Search Engine รู้ว่าเว็บไซต์เรามีหน้าอะไรบ้าง เหมือนเป็นแผนที่ช่วยให้บอทมาเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนและรวดเร็วขึ้น เพิ่มโอกาสติดอันดับ
4. Schema Markup
โค้ดพิเศษที่ช่วยอธิบายข้อมูลให้ Google เข้าใจเนื้อหาแบบลึกขึ้น เช่น รีวิว ราคา บทความ หรือกิจกรรม ทำให้แสดงผลในรูปแบบ Rich Snippet ช่วยเพิ่ม CTR และความน่าเชื่อถือ
5. Clean HTML
การเขียนโค้ด HTML อย่างเป็นระเบียบ ไม่มีโค้ดซ้ำซ้อนหรือผิดพลาด ช่วยให้หน้าเว็บโหลดเร็วขึ้น บอทอ่านข้อมูลได้ง่าย และลดโอกาสเกิดปัญหาในการแสดงผล SEO
6. Site Structure (หน้าสำคัญต้องอย่าให้อยู่ลึกเกิน 3 คลิก)
การจัดโครงสร้างเว็บไซต์ให้เรียบง่าย หน้าสำคัญควรเข้าถึงได้ภายในไม่เกิน 3 คลิก เพื่อให้ผู้ใช้และ Search Engine เข้าถึงเนื้อหาเร็วขึ้น เพิ่มความสะดวกและคะแนน SEO
เปรียบเทียบ Technical SEO
แบบดั้งเดิม | AI SEO |
URLs SEO Friendly | robots.txt |
HTTPS | llms.txt |
robots.txt | XML Sitemap |
schema markup | Schema Markup |
XML sitemap | Clean HTML |
canonical URL | Site structure (หน้าสำคัญต้องอย่าให้อยู่ลึกเกิน 3 คลิก) |
404 Page not found | |
Redirect 301 | |
Page speed | |
core web vitals |
แนวทางใหม่ของ SEO ในปี 2025 ไม่ได้หยุดอยู่แค่การใส่คีย์เวิร์ดหรือทำ Backlink อีกต่อไป แต่กำลังเข้าสู่ยุคของ AI SEO ที่เน้นการใช้ข้อมูล ผสานเทคโนโลยี และเข้าใจพฤติกรรมผู้ค้นหามากขึ้น การอัปเกรดเว็บให้พร้อมแข่งขันบนหน้าแรก Google จึงต้องใช้กลยุทธ์ที่ครอบคลุมทั้ง On-page (เนื้อหาและโครงสร้าง), Off-page (ความน่าเชื่อถือและลิงก์ภายนอก) และ Technical SEO (ประสบการณ์ใช้งาน ความเร็ว ความปลอดภัย) จุดเปลี่ยนสำคัญอยู่ที่การเขียนคอนเทนต์ที่คนอ่านอยากแชร์ มีโครงสร้างชัดเจน และแสดงความเชี่ยวชาญอย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมกับใช้ AI วิเคราะห์และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ใครที่มองเห็นทิศทางนี้ก่อน จะได้เปรียบในเกม SEO ยุคใหม่อย่างแท้จริง