10 สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนเริ่ม..สำหรับคนที่อยากขายของออนไลน์

เชื่อว่าในยุคที่ตลาดออนไลน์โตเติบโตอย่างต่อเนื่องแบบนี้ ทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจที่จะทำงานที่บ้าน “Work From Home” กันมากขึ้น ด้วยความจำเป็นที่เกิดจากโรคระบาดในปี 2020 จึงมีความจำเป็นที่ทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ต้องหันมาศึกษาในเรื่องนี้ แต่จะให้เริ่มขายของออนไลน์กันโดยที่ไม่รู้อะไรเลย ต้องบอกตรงๆเลยครับว่ายาก.. ถ้าอยากขายออนไลน์ในปี 2020-2021 ต้องรู้เกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ไว้บ้าง โดยหัวข้อที่จะมานำเสนอมีดังนี้

  1. เตรียมความพร้อมอย่างไร?
  2. รีเสิร์ชสินค้าที่จะขาย (Research product)
  3. คีย์เวิร์ดกับชื่อร้าน (Keywords and store name)
  4. ต้องคำนวณต้นทุนทั้งหมดให้ได้ (Calculate cost)
  5. รูปแบบการขายเป็นอย่างไร (ปลีก-ส่ง)
  6. ช่องทางในการขาย (Sales channels)
  7. กลุ่มเป้าหมายของสินค้า คือใคร (Target group)
  8. วางแผนการตลาด (Marketing plan)
  9. ตัวเลือกในการชำระเงิน (Payment)
  10. เตรียมสำหรับการขาดทุน (Prepare for losses)

1.เตรียมความพร้อมอย่างไร?

ความพร้อมในที่นี้จะไม่นำส่วนของทุนทรัพย์เข้ามาเกี่ยว แต่จะแนะนำเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนในการคิดตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงขายจริง ที่คนขายออนไลน์ส่วนใหญ่มองข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไป โดยหัวข้อที่จะเสนอแนะนี้ไม่ได้มาจากตำรา หรือทฤษฎีจากหลักสูตรเล่มใดเลย แต่เป็นการตกตะกอนจากประสบการณ์ที่แอดมินทำการตลาดให้ลูกค้าในหลากหลายธุรกิจ

ความพร้อมนั้นค่อนข้างจำเป็นมาก หากเราสังเกตเพื่อนๆในโซเชียล บางคนที่หารายได้เสริมจากเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า (ต้องมีบ้างแหละเนอะ) หากเราลองไปแกะรอยวิธีที่พวกเค้าขาย(แอดมินทำบ่อย..) จะพบว่าบางคนแค่อยากเป็นแม่ค้าออนไลน์ ก็เลยสมัครตัวแทนแล้วโพสขายหน้าโปรฟายของตัวเอง บางคนทำเพจ แต่ก็ไม่รอด ซึ่งต้องบอกว่าทำแค่นี้ไม่พอ..(ถ้าคุณไม่ฮอตพอ) เพราะการขายให้แค่คนรู้จักนั้น โตไม่ได้ ขายไม่นานก็ต้องเปลี่ยนไปขายอย่างอื่น ฉนั้นวิธีขายออนไลน์ต้องเริ่มต้นอย่างไร เราแนะนำขั้นตอน ดังนี้

2.รีเสิร์ชสินค้าที่จะขาย (Research product)

การขายขั้นพื้นฐานที่นักการตลาดส่วนใหญ่เริ่มทำเป็นวิธีแรกๆ นั่นก็คือการค้นหาความต้องการซื้อ และความต้องการขาย เรียกกันว่า (Demand Supply) หากเป็นกลุ่มสินค้าที่มีในท้องตลาดมากมายอยู่ควรค้นหาความต้องการซื้อ เพราะหากคนต้องการซื้อน้อย แต่มีคนขายเยอะเกินไป จะมีความเสี่ยงสูง แต่หากเป็นสินค้าใหม่ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาของคน ก็ไม่จำเป็นต้องหา Demand ก็ได้ โดยวิธีหาอุปสงค์และอุปทานออนไลน์สามารถใช้เครื่องมืออย่าง Google Trend หรือ Neilpatel เพื่อดูว่าสินค้าที่เราจะนำมาขายนั้นมีจำนวนการค้นหามากน้อยแค่ไหนได้ฟรี!!

ภาพตัวอย่าง: ปริมาณการค้นหาคอลลาเจนต่อเดือนจากเว็บไซต์ Neilpatel.com

3.คีย์เวิร์ดกับชื่อร้าน (Keywords and store name)

สำหรับผู้ที่เริ่มต้นการขายออนไลน์บนโซเชียลมีเดีย หรือเพจเฟซบุ๊ค คีย์เวิร์ดในการตั้งชื่อเพจเฟซบุ๊คถือว่ามีความสำคัญมากในผลการค้นหา หากร้านของคุณยังไม่เป็นที่รู้จัก แนะนำให้ใส่คีย์เวิร์ดสินค้าในชื่อเพจด้วย เช่น หากคุณขายผ้าปูที่นอน ควรใช้ชื่อร้าน+คีย์เวิร์ดสินค้า ตัวอย่าง  ร้านสุขใจ ผ้าปูที่นอน, ร้านสุขใจ ผ้าปูที่นอน ราคาส่ง, ร้านสุขใจ ผ้าปูที่นอนส่งโรงงาน, ร้านสุขใจ ผ้าปูที่นอนการ์ตูน, ร้านสุขใจ ผ้าปูที่นอนดิสนี่ย์แท้ เป็นต้น ซึ่งข้อดีคือจะทำให้ลูกค้าค้นหาร้านของคุณเจอง่ายขึ้นนั่นเอง

ภาพตัวอย่าง: ผู้ใช้ที่ค้นหาสินค้าจะค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด และมีโอกาสเจอร้านของคุณ

4.ต้องคำนวณต้นทุนทั้งหมดให้ได้ (Calculate cost)

สินค้าทุกอย่างที่เราซื้อมาขายล้วนบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ถ้านำมาขายทั่วไปคงไม่ต้องคิดกำไรอะไรมากมาย แต่สำหรับการขายออนไลน์นั้นเจ้าของสินค้าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายอย่าง กว่าสินค้าจะไปส่งถึงมือลูกค้า ซึ่งจำแนกได้ดังนี้

ขายบนลาซาด้า: จะเสียค่าธรรมเนียม 2-3% ทุกออเดอร์ที่ขายได้

ขายบนเพจ: เสียค่าขนส่งตามน้ำหนักสินค้า

ขายบนเว็บ หรือเพจแบบเก็บเงินปลายทาง: เสียค่าขนส่งตามน้ำหนักสินค้า+ค่าธรรมเนียม 3% ของมูลค่าสินค้า

เครดิต: https://www.peerpower.co.th/blog/ผู้ประกอบการ/การจัดการธุรกิจ/vat-sme/

จะเห็นได้ว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างกว่าสินค้าจะไปถึงมือลูกค้า ดังนั้นการคำนวณกำไรต้นทุนให้ดี จะดีต่อการตั้งราคาสินค้า

5.รูปแบบการขายเป็นอย่างไร (ปลีก-ส่ง)

วิธีในการขายต้องชัดเจน สำหรับธุรกิจที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก คำอธิบายธุรกิจมีความสำคัญที่จะช่วยให้ลูกค้าหน้าใหม่เข้าใจธุรกิจของคุณมากขึ้น เช่น คุณขายอะไร ปลีกหรือส่ง ร้านตั้งอยู่ที่ไหน สินค้าราคาเท่าไหร่ อะไรคือความน่าเชื่อถือในธุรกิจของคุณ คำอธิบายที่ชัดเจนจะส่งผลดีต่อความมั่นใจของลูกค้า และช่วยให้การตัดสินใจซื้อ..มากขึ้นกว่าเดิม

6.ช่องทางในการขาย (Sales channels)

สำหรับช่องทางการขาย จะส่งผลการขายสินค้าชิ้นแรกของคุณ รวมถึงส่งผลต่อปริมาณสินค้าที่ขายได้ต่อวัน-ต่อเดือนอีกด้วย ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะแต่ละช่องทางที่แอดมินจะบอกนี้ ใช้ระยะเวลาในการปั้นร้านที่ไม่เท่ากัน หรือเข้าถึงปริมาณลูกค้าไม่เท่ากัน ตัวอย่าง ขายบนเว็บไซต์อาจต้องเสียเวลาสร้างเว็บพอสมควร หรือเปิดร้านบนลาซาด้า(Lazada) จากนั้นทำให้สินค้ามีอันดับในผลการค้นหาที่ค่อนข้างใช้เวลานาน หรือขายบนเพจแล้วทำโฆษณาเฟซบุ๊คเพื่อให้สินค้าขายได้เร็วขึ้น ซึ่งช่องทางที่ได้รับความนิยมมีตัวอย่าง ดังนี้

  • เฟซบุ๊คแฟนเพจ(Facebook Fanpage)
  • ทวิตเตอร์ (Twitter)
  • เว็บไซต์อีคอมเมิร์ช (E-Commerce Websites)
  • เว็บเปิดร้านค้าฟรี Lazada, Shopee
  • ไลน์โอเอ(Line OA)

7.กลุ่มเป้าหมายของสินค้า คือใคร (Target group)

สินค้าแต่ละชนิดไม่ได้ผลิตมาเพื่อขายให้คนทุกคน ผู้ผลิตสินค้าก่อนที่จะผลิต พวกเขาคิดมาอย่างดีแล้วว่าจะขายให้ใคร ฉะนั้นเมื่อเรานำสินค้าใดก็ตามมาขาย จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าจะขายให้ใคร ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทำความเข้าใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า และนำเสนอการขาย หากกลุ่มลูกค้าที่เราจะขายไม่ชัดเจน อาจส่งผลเสียต่อยอดขาย และความยากในการปิดการขาย

ภาพตัวอย่าง: คุณต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทำความเข้าใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น

8.วางแผนการตลาด (Marketing plan)

การวางแผนการตลาด เป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ควรวางแผนก่อนที่จะเริ่มขายสินค้าออนไลน์ เหตุผลก็เพราะการวางแผนทำการตลาด รักษฐานลูกค้า และขยายธุรกิจที่ชัดเจน จะเป็นเหมือนเส้นทางตรงที่ทำให้คุณก้าวไปถึงความสำเร็จได้เร็วขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ธุรกิจออนไลน์ควรมีที่ปรึกษาการตลาด เพื่อให้ผ็ที่คลุกคลีอยู่ในวงการเหล่านี้เข้ามาช่วย ดีกว่าการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง

ภาพจาก: https://smallbusiness.co.uk/writing-franchise-business-plan-2546293/

9.ตัวเลือกในการชำระเงิน (Payment)

ช่องทางการชำระเงินก็เป็นอีกส่วนสำคัญ ที่มีผลในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า การจ่ายที่ยุ่งยากมีผลเสียในการตัดสินใจซื้อสูงมาก แนะนำให้มีตัวเลือกในการชำระเงินหลายๆช่องทาง เช่น หากคุณเลือกการชำระค่าสินค้าเป็นการโอน ควรเปิดบัญชีหลายๆธนาคาร ช่วยลดค่าธรรมเนียมโอนจ่ายให้ลูกค้า หรือ มีระบบตัดจ่ายผ่านบัตรเครดิต หรือ ชำระค่าสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง

10.เตรียมสำหรับการขาดทุน (Prepare for losses)

คงไม่มีธุรกิจไหนที่กระโดดเข้ามาขายออนไลน์แล้วขายดีทันที (ถ้างบไม่มากพอ) ถ้าแบนรด์ยังไม่เป็นที่รู้จัก สำหรับร้านที่พึ่งเริ่มต้นอาจต้องใช้เวลามากหน่อยกว่าจะได้ ต้องศึกษาและวางแผนขั้นตอนการตลาดให้ดี ถ้าไม่อยากขาดทุนนาน นี่เป็นความจริงของธุรกิจหน้าใหม่ที่ต้องเจอกับปัญหานี้กันทุกธุรกิจที่คุณต้องเตรียมใจให้ดี วางแผนให้ได้ว่าคุณจะสามารถทนขาดทุนได้กี่เดือน

ภาพจาก: freepik.com

การหาสินค้ามาขายออนไลน์นั่นไม่ยาก การเป็นนักขายก็ไม่ยาก สิ่งที่ยากคือความรู้ความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย แผนสำหรับการตลาด การรักษาฐานลูกค้า และขยายธุรกิจให้เติบโต ที่จะทำให้คุณเห็นภาพการเดินทางได้ชัดเจนมากขึ้น ฉนั่นความพร้อมด้านความรู้นั้นสำคัญมาก ทั้งหมกนี้คือ 10 สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับคนที่อยากขายของออนไลน์ ที่จะทำให้การขายง่ายขึ้นกว่าเดิม

เรื่องที่คุณอาจสนใจ: 6 เรื่องควรรู้!! ก่อนตัดสินใจขายของออนไลน์

เขียนโดย: สิทธิกร โสภา